การเติบโตในยุคของเทคโนโลยีทำให้การสื่อสารที่เข้าถึงง่ายนั้นไม่ว่าจะเป็น การติดต่อกับผู้อื่น หรือแม้แต่การค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เป็นที่สามารถเกิดขึ้น เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น ซึ่งก็ดูจะทำให้ชีวิตง่ายดายไปเสียหมด แต่ทำไมสิ่งเหล่านี้ถึงอาจจะสร้างปัญหาในการใช้ชีวิต ทั้งด้านการเรียน สุขภาพ และไปจนถึงจิตใจ ลองคิดๆ ดูในปัจจุบัน social media ในหลายๆ platforms  ต่างๆมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย ถ้าคนที่นั่งหลังจอไม่มีวุฒิภาวะหรือการจัดการ และเข้าใจข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ก็อาจจะส่งผลในแง่ลบได้เช่นกัน โดยเฉพาอย่างยิ่งในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังค้นหา สร้างตัวตน ต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม ต้องการเปลี่ยนจาก Nobody เป็น Somebody จนบางครั้งอาจจะกินพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ เป็นจุดโฟกัสสำคัญ จนบางคนหมกมุ่นอยู่กับการสร้างตัวตนในโลกสมมติใบนี้จนละเลยโลกแห่งความเป็นจริงไปโดยไม่รู้ตัว คุยกับคนในโซเชียลมากกว่าคนในชีวิตจริง หรือหากบางคนไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวตนบนให้เป็นที่นิยมบนโลกโซเชียล มัวแต่นั่งคิดว่าทำไมรูปเราถึงมีคนกด Like กดหัวใจน้อยกว่าเพื่อน จนเกิดปัญหาความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำหรือ Low-Self esteem นั่นเอง ซึ่งอาจจะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเภทอื่นๆ ได้เมื่อจมอยู่กับโลกโซเชียลมากจนเกินพอดี และนี่ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริง เพราะหลายๆ ประเทศก็กำลังเผชิญอยู่กับปัญหานี้  

โดยสาเหตุของปัญหานี้ ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัว หากครอบครัวไม่สามารถทำให้เด็กรู้สึกได้รับความรัก ความอบอุ่ม เป็นคนสำคัญในครอบครัว จนรู้สึกขาดความอบอุ่น ไม่มีตัวตน จนต้องหาตัวตนใหม่ๆ มาเติมเต็ม หรือแสวงหาการยอมรับจากคนอื่นๆ ในโลกโซเชียล ซึ่งการจะแก้ปัญหานี้ได้ก็เริ่มจากครอบครัวเช่นกัน ในยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนต้องหันหน้ามาคุยกัน การที่ผู้ใหญ่จะเข้าใจเด็กได้จะต้องลด ตัวตน ลดกำแพง ไม่ตั้งการ์ดด้วยความคิดที่ว่าเป็นเด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ และพยายามเรียนรู้โลกของวัยรุ่น เปิดใจพูดคุยอย่างเอาใจใส่ ไม่ละเลยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เพราะบางครั้งในมุมผู้ใหญ่อาจจะไม่สำคัญ แต่ปัญหานั้นอาจจะเป็นโลกทั้งใบของพวกเขาเลยก็ได้ การเปิดใจกันคุยกันทั้งสองฝ่าย จะให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในบางครั้ง การมีคนกลางไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือแม้แต่ครู หรือ coach ที่ดีก็สามารถช่วยประสานให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น ตรงประเด็น มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นของทั้งสองฝ่ายจากมุมมองคนกลางได้มากขึ้น จึงสามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ให้ดีขึ้นได้  เพราะการสื่อสารทางด้านคำพูด และการกระทำต่างๆ จะช่วยสร้างภาวะจิตใจที่เข้มแข็งจะทำให้เด็กมีสภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคง เข้าใจเหตุและผล จนสามารถผ่านด่านอุปสรรคการเรียนรู้ของชีวิตได้ ทั้งทางด้านการเรียน การทำงาน การติดโซเชียลและอยู่รวมกับผู้อื่นจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สูง และ มีความสุขกับการใช้ชีวิตของตนเองได้ในที่สุด